จงหยุดเพื่อชาติ ก่อนไม่มีชาติให้หยุด
มองการเมืองจากทัศนะท่านพุทธทาส
ผศ.ชมพู โกติรัมย์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาแต่ละครั้งได้เวียนมาถึงเช่นนี้ ทำให้เราได้เห็นวิถีพุทธที่ยังมีการขับเคลื่อนอยู่ท่ามการไหลบ่าของกระแสหลักของโลกในศตวรรษที่ 21 ทั้งกระแสเสรีนิยมที่กระตุ้นความอยากกระหายของมนุษย์อย่างไร้พรมแดนไม่มีขีดจำกัด ไร้จุดสมดุลในมิติเศรษฐกิจและการเมือง และทั้งกระแสบริโภคนิยมที่ต่อยอดจากความอยากอย่างไร้จุดควบคุมซึ่งมีความสำเร็จทางวัตถุเป็นเกณฑ์วัดมาตรฐานคุณค่าของคน จนเป็นเป้าประสงค์ที่สังคมนิยมว่าเป็นสาระ เป็นวิถีพุทธให้คนรุ่นหลังในฐานะเรียนรู้ทางสังคมสัมผัสได้โดยตรงผ่านทางความศรัทธา และหลักธรรมที่ห่อหุ้มด้วยพิธีกรรมต่างๆ ที่ได้ซึมซับหยั่งรากสู่สังคมไทยมาช้านาน แม้จะกล่าวว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจากบริบทวิถีชีวิต คติความเชื่อ และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ก็คงไม่ผิดเกินความเป็นจริงมากนัก หากแต่ว่าเป็นศาสนาประจำชาติโดยสาระที่ผู้คนในชาติให้ความสำคัญในฐานะเป็นโครงสร้างหลักเพื่อประยุกต์ใช้กับการเมืองเศรษฐกิจสังคม ชนิดขาดไม่ได้ จึงเป็นความสำคัญที่จะเข้าให้ถึงซึ่งเนื้อแท้แห่งศาสนา เมื่อเป็นเช่นนี้ศาสนาจึงมีความสำคัญระดับชาติแม้มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะนั่นเป็นเพียงสมมุติบัญญติ เนื้อแท้แห่งธรรมต่างหากเป็นปรมัตถ์บัญญัติที่ผู้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการเมืองโดยตรงควรเข้าให้ถึง ควรทำให้เป็นผลประจักษ์ในลักษณะนำไปใช้ ในทางกลับกันการเข้าถึงธรรมอันเป็นแก่นแท้ของศาสนาในฐานะเป็นสิ่งยึดรั้งป้องกั้นสังคมให้คงอยู่ในความดีงาม เป็นปัจจัยด้านหลักคอยหนุนเนื่องขับเคลื่อนสังคม มิใช่ในเพียงองค์ประกอบ ตรงนี้เป็นความท้าทายที่ขวางกั้นด้วยส่วนประกอบภายนอกของศาสนาในนามพิธีกรรมอันเรืองรอง แทบจะมองไม่เห็นเนื้อแท้แห่งจุดหมายแห่งธรรม เพราะหากพิจารณาจุดอุบัติขึ้นแห่งศาสนาพุทธแล้ว จะพบว่าอุบัติขึ้นด้วยกระบวนการลองผิดลองถูกทางปัญญาจนกระทั่งก้าวสู่ภาวะแห่งการรู้แจ้งด้วยปัญญา (พุทธภาวะ) การหยั่งรู้ด้วยปัญญาถึงธรรมชาติของมนุษยชาติ ที่ถูกครอบงำด้วยอำนาจทำลายที่ทรงทรงพลังมากที่สุดซึงประกอบด้วยอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลง และจะยิ่งทรงพลังทำลายอย่างยิ่งยวดหากอาศัยเงื่อนไขอำนาจการเมือง กำลังอาวุธ และกำลังการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือขยายผลเป็นการทะลุทะลวงเบียดบังเพื่อผลประโยชน์แห่งตน ทำร้ายเข่นฆ่าไม่เว้นแม้แต่คนชาติเดียวกันด้วยแห่งความเกลียดชังบ่มเพาะเป็นความอาฆาตพยาบาท และการครอบงำข้อมูลข่าวสารสร้างความจริงเทียมทางข้อมูลให้เกิดการหลงประเด็นเพื่อหวังผลทางการเมือง เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาที่เวียนมาบรรจบในปีนี ปีที่คนไทยมีความขัดแยงเชิงความคิดได้พัฒนามาถึงจุดเดือดพร้อมระเบิดอำนาจทำลายทุกมื่อ และปีที่คนไทยกำลังเผชิญหน้ากันด้วยความรุนแรง แต่การมีส่วนร่วมกันทางการเมืองกลับถดถอย ผู้เขียนใคร่ขอนำแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองของท่านพุทธทาส ปราชญ์ทางพุทธศาสนาของไทยและของโลกที่อุทิศตนตามรายบาทพุทธองค์ไม่ผิดเพี้ยนที่ สุภาคย์ อินทองคงเรียบเรียงไว้ดังนี้
สังคมไทยกำลังเดินเข้าสู่ทางตันทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ถึงเวลาแล้วที่เราจะช่วยกันศึกษาเรียนรู้และนำออกสู่การปฏิบัติ การเมืองในกรอบของพุทธธรรมหรือพระพุทธองค์ผู้ทรงปราศจากความเห็นแก่ตน หลุดพ้นจากความยึดมั่น ถือมั่นในความเป็นตัวกู-ของกู (กลุ่ม และพรรค) จึงเต็มไปกิจกรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนอย่าง
แท้จริง
การเมือง เป็นเรื่องของกลุ่มคนหรือเรียกว่า สังคม คือ การที่คนต้องมาอยู่ร่วมกัน ในการอยู่ร่วมกันนั้นมีโจทย์ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ได้อย่างไร การเมืองในภาคปฏิบัติและเป็นเนื้อหาก็คือการบริหารจัดการรัฐให้ขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี ซึ่งทั้งหมดนี้ จะประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวรู้ ตัวปัญญา จะเป็นตัวทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยสั่งการและกำกับและตัวความจริง เมื่อใดสังคมขาดองค์ความรู้ ความจริง หรือรู้ แต่รู้ไม่ถูก ไม่ครบถ้วน การเชื่อมโยงก็จะผิดเพี้ยน ตัวความจริงนี้ท่านพุทธทาสได้บอกไว้ว่า "ธรรม" ธรรมกับการเมืองเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน มีหน้าที่สนใจการเมือง ร่วมกันจัดสังคมให้อยู่กันอย่างสงบสุขโดยไม่ต้องใช้อาชญา แต่คนสมัยนี้ ดูเหมือนว่าใช้การเมืองนั้นเองเป็นเครื่องมือกอบโกย หรือฟาดฟันผู้อื่น ครอบงำผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว ดังนั้น แทนที่การเมืองจะตั้งอยู่ในฐานะเป็นเรื่องศีลธรรม ก็กลายเป็นเรื่องเกมการแข่งขันมุ่งเอาชนะแม้ทำลายกันก็ไม่เว้นไปเสีย เมื่อกล่าวโดยปรัชญาทางศีลธรรม การเมืองก็คือ หน้าที่ของมนุษย์ที่เขาจะต้องประพฤติกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติอันเฉียบขาด เพื่อผลคือการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก โดยไม่ต้องใช้อาชญา แต่เมื่อไม่มีการคำนึงถึงศีลธรรมกันเสียแล้ว การเมืองก็กลายเป็นเรื่องสกปรก สำหรับหลอกลวงกันอย่างไม่มีขอบเขต มีแต่สัตว์การเมือง ที่บูชาเรื่องกิน-กาม-เกียรติแทนสันติสุขการเมืองที่แท้จริงสำหรับมนุษย์ การเมืองต้องตั้งอยู่บนรากฐานของศาสนาของทุกศาสนาที่มีอยู่ว่า "สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น" นักการเมืองที่มีธรรมสัจจะข้อนี้อยู่ในใจ ย่อมเป็นนักการเมืองของพระเจ้า การเคลื่อนไหวของเขาทุกกระเบียดนิ้วมีแต่บุญกุศลจนกระทั่งกลายเป็นปูชนียบุคคลไป 1. การเมืองไม่อาจขับเคลื่อนและดำรงอยู่ได้ ถ้าไร้ธรรม นั่นหมายความว่า การเมืองเป็นสิ่งที่แยกจากธรรมไม่ได้ เมื่อใดแยกการเมืองออกจากธรรม ก็กลายเป็นเรื่องทำลายโลกขึ้นมาทันที การเมืองคือการจัดการสังคมทุกระดับ การจัดการทุกระดับต้องมีธรรมเป็นฐาน ธรรม คือ ความจริงทั้งที่คนและสภาพแวดล้อมทั้งที่เป็นธรรมชาติและสังคมวัฒนธรรม การให้คนได้รู้จักตนเอง จัดการตนเองให้ถูกต้องตามความจริงทั้ง 2 ส่วนนี้ และหาวิธีเชื่อมโยงให้เหมาะสม 2. ปรัชญาการเมืองมี 2 สายหลัก คือ สายสัตว์กับสายมนุษย์ สายแรกเป็นรูปแบบสัตว์การเมือง ซึ่งเต็มไปด้วยความหลอกลวงกันอย่างไม่มีขอบเขต จนทำโลกนี้ให้เป็นโลกแห่งการหลอกลวง เป็นโลกที่เต็มไปด้วยสัตว์การเมือง ที่มีการกอบโกยหรือฟาดฟันกันครอบงำผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวส่วนรูปแบบที่สอง เป็นรูปแบบหน้าที่มนุษย์ ที่จะต้องประพฤติกระทำให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติอย่างเคร่งครัด และเฉียบขาด เพื่อผลดีคือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของหมู่ชน โดยไม่ต้องใช้อาชญาอำนาจ แต่ใช้ศีลธรรมเป็นตัวกำกับควบคุมพฤติกรรมคือ การพูด การทำและการคิดของมนุษย์ การเมืองกับประชาธิปไตยกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่ในเนื้อในและระดับชั้นการพัฒนา การเมือง เป็นเรื่องความรู้ ความคิด และการปฏิบัติจัดการสังคมทั่วไป ส่วนประชาธิปไตย เป็นเรื่องเดียวกัน แต่มีระดับที่สูงกว่า คือ ต้องรู้ในขั้นที่รู้ดีคิดได้และใช้เป็นรู้อะไรคิดอะไรใช้อะไรรู้ธรรม คิดตามธรรม และปฏิบัติตามธรรมดังที่กล่าวแล้วในตอนต้น ท่านพุทธทาสได้ให้แนวทางแก่เราไว้ว่า"ประชาธิไตยที่ว่าเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน นั้น ใช้ได้เฉพาะประชาชนที่มีธรรมเท่านั้น ถ้าประชาชนไม่มีธรรม มันก็กลายเป็นประชาธิปตาย เท่านั้นเอง ดังนั้น ต้องหว่านพืชธรรมก่อนพืชประชาธิปไตย เพื่อลดหรือป้องกันความเห็นแก่ตัว ถ้าเห็นแก่ตัวก็มี
แต่ประชาธิปตายโดยไม่รู้สึกตัว ความไม่เห็นแก่ตัวจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยแท้จึงมีแต่ความไม่เห็นแก่ตัวซึ่งเป็นของมีได้ยากสำหรับปุถุชนสมัยนี้ที่บูชาวัตถุธรรม วาทกรรมชิ้นนี้เตือนสติเราในเรื่องใด เตือนเรื่องประชาธิไตยกับเรื่องธรรมว่าประชาธิปไตยที่เราพูดถึงกันว่าเป็นการให้ประชาชนเป็นใหญ่ ช่วยตนเองช่วยกันเอง โดยมีพิธีกรรมการเลือกตั้ง ส่งผู้แทนเข้าไปบริหารจัดการชุมชนประเทศนั้น ตัวประชาชนเองจะต้องมีธรรม นั้นคือ ประชาชนส่วนใหญ่จะต้องมีธรรม โดยเฉพาะผู้นำในทุกระดับและทุกภาคส่วนจะต้องมีธรรม และตัวธรรมที่ท่านพุทธทาสชี้แนะ คือ "ความไม่เห็นแก่ตัว" หรือความไม่หมกหมุ่นอยู่กับการใฝ่รู้ ใฝ่คิด ใฝ่ทำ เพื่อกาม เพื่อกิน เพื่อเกียรติ เพื่อตนเองและพวกพ้องของตนในวงแคบตัวประชาชนที่จะเข้าไปใช้อำนาจที่เป็นของประชาชนส่วนใหญ่นั้น จะต้องมีธรรมสัจจะ ที่ว่า " สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อ่นทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น"อยู่ในใจตัวประชาชนที่เป็นผู้ร่วมพิธีกรรมเลือกตั้ง (ลงคะแนน) ก็ต้องท่องคาถาธรรมสัจจะนี้ เพราะเป็นคาถาช่วยพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้เคารพในความเป็นมนุษย์ของเพื่อนมนุษย์ รวมถึงสัตว์อื่น ๆ ด้วย สาระของคาถาธรรมสัจจะนี้ก็คือ คำที่จะเชื่อมโยงมนุษย์ทั้งกาย วาจา ใจ เข้าสู่ความจริง ทั้งมวลทั้งที่ตัวมนุษย์และสรรพสิ่งได้ง่ายขึ้น ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เป็นธรรมสัจจะฝ่ายลบ ความไม่เห็นแก่ตัวเป็นธรรมสัจจะฝ่ายบวก คือ ช่วยสร้างสันติสุขให้มนุษย์และสร้างมนุษย์ได้อย่างดีวิเศษ
มองการเมืองจากทัศนะท่านพุทธทาส
ผศ.ชมพู โกติรัมย์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาแต่ละครั้งได้เวียนมาถึงเช่นนี้ ทำให้เราได้เห็นวิถีพุทธที่ยังมีการขับเคลื่อนอยู่ท่ามการไหลบ่าของกระแสหลักของโลกในศตวรรษที่ 21 ทั้งกระแสเสรีนิยมที่กระตุ้นความอยากกระหายของมนุษย์อย่างไร้พรมแดนไม่มีขีดจำกัด ไร้จุดสมดุลในมิติเศรษฐกิจและการเมือง และทั้งกระแสบริโภคนิยมที่ต่อยอดจากความอยากอย่างไร้จุดควบคุมซึ่งมีความสำเร็จทางวัตถุเป็นเกณฑ์วัดมาตรฐานคุณค่าของคน จนเป็นเป้าประสงค์ที่สังคมนิยมว่าเป็นสาระ เป็นวิถีพุทธให้คนรุ่นหลังในฐานะเรียนรู้ทางสังคมสัมผัสได้โดยตรงผ่านทางความศรัทธา และหลักธรรมที่ห่อหุ้มด้วยพิธีกรรมต่างๆ ที่ได้ซึมซับหยั่งรากสู่สังคมไทยมาช้านาน แม้จะกล่าวว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจากบริบทวิถีชีวิต คติความเชื่อ และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ก็คงไม่ผิดเกินความเป็นจริงมากนัก หากแต่ว่าเป็นศาสนาประจำชาติโดยสาระที่ผู้คนในชาติให้ความสำคัญในฐานะเป็นโครงสร้างหลักเพื่อประยุกต์ใช้กับการเมืองเศรษฐกิจสังคม ชนิดขาดไม่ได้ จึงเป็นความสำคัญที่จะเข้าให้ถึงซึ่งเนื้อแท้แห่งศาสนา เมื่อเป็นเช่นนี้ศาสนาจึงมีความสำคัญระดับชาติแม้มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะนั่นเป็นเพียงสมมุติบัญญติ เนื้อแท้แห่งธรรมต่างหากเป็นปรมัตถ์บัญญัติที่ผู้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการเมืองโดยตรงควรเข้าให้ถึง ควรทำให้เป็นผลประจักษ์ในลักษณะนำไปใช้ ในทางกลับกันการเข้าถึงธรรมอันเป็นแก่นแท้ของศาสนาในฐานะเป็นสิ่งยึดรั้งป้องกั้นสังคมให้คงอยู่ในความดีงาม เป็นปัจจัยด้านหลักคอยหนุนเนื่องขับเคลื่อนสังคม มิใช่ในเพียงองค์ประกอบ ตรงนี้เป็นความท้าทายที่ขวางกั้นด้วยส่วนประกอบภายนอกของศาสนาในนามพิธีกรรมอันเรืองรอง แทบจะมองไม่เห็นเนื้อแท้แห่งจุดหมายแห่งธรรม เพราะหากพิจารณาจุดอุบัติขึ้นแห่งศาสนาพุทธแล้ว จะพบว่าอุบัติขึ้นด้วยกระบวนการลองผิดลองถูกทางปัญญาจนกระทั่งก้าวสู่ภาวะแห่งการรู้แจ้งด้วยปัญญา (พุทธภาวะ) การหยั่งรู้ด้วยปัญญาถึงธรรมชาติของมนุษยชาติ ที่ถูกครอบงำด้วยอำนาจทำลายที่ทรงทรงพลังมากที่สุดซึงประกอบด้วยอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลง และจะยิ่งทรงพลังทำลายอย่างยิ่งยวดหากอาศัยเงื่อนไขอำนาจการเมือง กำลังอาวุธ และกำลังการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือขยายผลเป็นการทะลุทะลวงเบียดบังเพื่อผลประโยชน์แห่งตน ทำร้ายเข่นฆ่าไม่เว้นแม้แต่คนชาติเดียวกันด้วยแห่งความเกลียดชังบ่มเพาะเป็นความอาฆาตพยาบาท และการครอบงำข้อมูลข่าวสารสร้างความจริงเทียมทางข้อมูลให้เกิดการหลงประเด็นเพื่อหวังผลทางการเมือง เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาที่เวียนมาบรรจบในปีนี ปีที่คนไทยมีความขัดแยงเชิงความคิดได้พัฒนามาถึงจุดเดือดพร้อมระเบิดอำนาจทำลายทุกมื่อ และปีที่คนไทยกำลังเผชิญหน้ากันด้วยความรุนแรง แต่การมีส่วนร่วมกันทางการเมืองกลับถดถอย ผู้เขียนใคร่ขอนำแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองของท่านพุทธทาส ปราชญ์ทางพุทธศาสนาของไทยและของโลกที่อุทิศตนตามรายบาทพุทธองค์ไม่ผิดเพี้ยนที่ สุภาคย์ อินทองคงเรียบเรียงไว้ดังนี้
สังคมไทยกำลังเดินเข้าสู่ทางตันทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ถึงเวลาแล้วที่เราจะช่วยกันศึกษาเรียนรู้และนำออกสู่การปฏิบัติ การเมืองในกรอบของพุทธธรรมหรือพระพุทธองค์ผู้ทรงปราศจากความเห็นแก่ตน หลุดพ้นจากความยึดมั่น ถือมั่นในความเป็นตัวกู-ของกู (กลุ่ม และพรรค) จึงเต็มไปกิจกรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนอย่าง
แท้จริง
การเมือง เป็นเรื่องของกลุ่มคนหรือเรียกว่า สังคม คือ การที่คนต้องมาอยู่ร่วมกัน ในการอยู่ร่วมกันนั้นมีโจทย์ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ได้อย่างไร การเมืองในภาคปฏิบัติและเป็นเนื้อหาก็คือการบริหารจัดการรัฐให้ขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี ซึ่งทั้งหมดนี้ จะประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวรู้ ตัวปัญญา จะเป็นตัวทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยสั่งการและกำกับและตัวความจริง เมื่อใดสังคมขาดองค์ความรู้ ความจริง หรือรู้ แต่รู้ไม่ถูก ไม่ครบถ้วน การเชื่อมโยงก็จะผิดเพี้ยน ตัวความจริงนี้ท่านพุทธทาสได้บอกไว้ว่า "ธรรม" ธรรมกับการเมืองเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน มีหน้าที่สนใจการเมือง ร่วมกันจัดสังคมให้อยู่กันอย่างสงบสุขโดยไม่ต้องใช้อาชญา แต่คนสมัยนี้ ดูเหมือนว่าใช้การเมืองนั้นเองเป็นเครื่องมือกอบโกย หรือฟาดฟันผู้อื่น ครอบงำผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว ดังนั้น แทนที่การเมืองจะตั้งอยู่ในฐานะเป็นเรื่องศีลธรรม ก็กลายเป็นเรื่องเกมการแข่งขันมุ่งเอาชนะแม้ทำลายกันก็ไม่เว้นไปเสีย เมื่อกล่าวโดยปรัชญาทางศีลธรรม การเมืองก็คือ หน้าที่ของมนุษย์ที่เขาจะต้องประพฤติกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติอันเฉียบขาด เพื่อผลคือการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก โดยไม่ต้องใช้อาชญา แต่เมื่อไม่มีการคำนึงถึงศีลธรรมกันเสียแล้ว การเมืองก็กลายเป็นเรื่องสกปรก สำหรับหลอกลวงกันอย่างไม่มีขอบเขต มีแต่สัตว์การเมือง ที่บูชาเรื่องกิน-กาม-เกียรติแทนสันติสุขการเมืองที่แท้จริงสำหรับมนุษย์ การเมืองต้องตั้งอยู่บนรากฐานของศาสนาของทุกศาสนาที่มีอยู่ว่า "สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น" นักการเมืองที่มีธรรมสัจจะข้อนี้อยู่ในใจ ย่อมเป็นนักการเมืองของพระเจ้า การเคลื่อนไหวของเขาทุกกระเบียดนิ้วมีแต่บุญกุศลจนกระทั่งกลายเป็นปูชนียบุคคลไป 1. การเมืองไม่อาจขับเคลื่อนและดำรงอยู่ได้ ถ้าไร้ธรรม นั่นหมายความว่า การเมืองเป็นสิ่งที่แยกจากธรรมไม่ได้ เมื่อใดแยกการเมืองออกจากธรรม ก็กลายเป็นเรื่องทำลายโลกขึ้นมาทันที การเมืองคือการจัดการสังคมทุกระดับ การจัดการทุกระดับต้องมีธรรมเป็นฐาน ธรรม คือ ความจริงทั้งที่คนและสภาพแวดล้อมทั้งที่เป็นธรรมชาติและสังคมวัฒนธรรม การให้คนได้รู้จักตนเอง จัดการตนเองให้ถูกต้องตามความจริงทั้ง 2 ส่วนนี้ และหาวิธีเชื่อมโยงให้เหมาะสม 2. ปรัชญาการเมืองมี 2 สายหลัก คือ สายสัตว์กับสายมนุษย์ สายแรกเป็นรูปแบบสัตว์การเมือง ซึ่งเต็มไปด้วยความหลอกลวงกันอย่างไม่มีขอบเขต จนทำโลกนี้ให้เป็นโลกแห่งการหลอกลวง เป็นโลกที่เต็มไปด้วยสัตว์การเมือง ที่มีการกอบโกยหรือฟาดฟันกันครอบงำผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวส่วนรูปแบบที่สอง เป็นรูปแบบหน้าที่มนุษย์ ที่จะต้องประพฤติกระทำให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติอย่างเคร่งครัด และเฉียบขาด เพื่อผลดีคือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของหมู่ชน โดยไม่ต้องใช้อาชญาอำนาจ แต่ใช้ศีลธรรมเป็นตัวกำกับควบคุมพฤติกรรมคือ การพูด การทำและการคิดของมนุษย์ การเมืองกับประชาธิปไตยกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่ในเนื้อในและระดับชั้นการพัฒนา การเมือง เป็นเรื่องความรู้ ความคิด และการปฏิบัติจัดการสังคมทั่วไป ส่วนประชาธิปไตย เป็นเรื่องเดียวกัน แต่มีระดับที่สูงกว่า คือ ต้องรู้ในขั้นที่รู้ดีคิดได้และใช้เป็นรู้อะไรคิดอะไรใช้อะไรรู้ธรรม คิดตามธรรม และปฏิบัติตามธรรมดังที่กล่าวแล้วในตอนต้น ท่านพุทธทาสได้ให้แนวทางแก่เราไว้ว่า"ประชาธิไตยที่ว่าเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน นั้น ใช้ได้เฉพาะประชาชนที่มีธรรมเท่านั้น ถ้าประชาชนไม่มีธรรม มันก็กลายเป็นประชาธิปตาย เท่านั้นเอง ดังนั้น ต้องหว่านพืชธรรมก่อนพืชประชาธิปไตย เพื่อลดหรือป้องกันความเห็นแก่ตัว ถ้าเห็นแก่ตัวก็มี
แต่ประชาธิปตายโดยไม่รู้สึกตัว ความไม่เห็นแก่ตัวจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยแท้จึงมีแต่ความไม่เห็นแก่ตัวซึ่งเป็นของมีได้ยากสำหรับปุถุชนสมัยนี้ที่บูชาวัตถุธรรม วาทกรรมชิ้นนี้เตือนสติเราในเรื่องใด เตือนเรื่องประชาธิไตยกับเรื่องธรรมว่าประชาธิปไตยที่เราพูดถึงกันว่าเป็นการให้ประชาชนเป็นใหญ่ ช่วยตนเองช่วยกันเอง โดยมีพิธีกรรมการเลือกตั้ง ส่งผู้แทนเข้าไปบริหารจัดการชุมชนประเทศนั้น ตัวประชาชนเองจะต้องมีธรรม นั้นคือ ประชาชนส่วนใหญ่จะต้องมีธรรม โดยเฉพาะผู้นำในทุกระดับและทุกภาคส่วนจะต้องมีธรรม และตัวธรรมที่ท่านพุทธทาสชี้แนะ คือ "ความไม่เห็นแก่ตัว" หรือความไม่หมกหมุ่นอยู่กับการใฝ่รู้ ใฝ่คิด ใฝ่ทำ เพื่อกาม เพื่อกิน เพื่อเกียรติ เพื่อตนเองและพวกพ้องของตนในวงแคบตัวประชาชนที่จะเข้าไปใช้อำนาจที่เป็นของประชาชนส่วนใหญ่นั้น จะต้องมีธรรมสัจจะ ที่ว่า " สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อ่นทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น"อยู่ในใจตัวประชาชนที่เป็นผู้ร่วมพิธีกรรมเลือกตั้ง (ลงคะแนน) ก็ต้องท่องคาถาธรรมสัจจะนี้ เพราะเป็นคาถาช่วยพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้เคารพในความเป็นมนุษย์ของเพื่อนมนุษย์ รวมถึงสัตว์อื่น ๆ ด้วย สาระของคาถาธรรมสัจจะนี้ก็คือ คำที่จะเชื่อมโยงมนุษย์ทั้งกาย วาจา ใจ เข้าสู่ความจริง ทั้งมวลทั้งที่ตัวมนุษย์และสรรพสิ่งได้ง่ายขึ้น ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เป็นธรรมสัจจะฝ่ายลบ ความไม่เห็นแก่ตัวเป็นธรรมสัจจะฝ่ายบวก คือ ช่วยสร้างสันติสุขให้มนุษย์และสร้างมนุษย์ได้อย่างดีวิเศษ